วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ BIOS



รู้จักกับ BIOS (Basic Input/Output System)
           
                อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่เป็น ฮาร์ดแวร์ จะสามารถทำงานได้โดยต้องมี ซอฟท์แวร์ ประกอบด้วย สำหรับ BIOS (Basic Input/Out System) นี้จะเป็นที่เก็บ ซอฟท์แวร์ ขนาดเล็ก ๆ ไว้ในชิป ROM (เป็นแบบ EPROM : Erasable Programmable Read-Only Memory) เพื่อใช้สำหรับทำการบูทเครื่องคอมพิวเตอร์จากแผ่น floppy disks (FDD) หรือจาก hard disks (HDD) โดยที่ BIOS จะทำหน้าที่ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการ POST (Power-On Self Test) ก่อนที่จะเรียกใช้ ซอฟท์แวร์ ที่เป็น Operating System เช่น DOS หรือ Windows จาก FDD หรือ HDD เพื่อทำการเริ่มต้นเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้ต่อไป
นอกจากนี้ BIOS ยังเป็นตัวกำหนดค่าต่าง ๆ ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะควบคุมการทำงานของ Keyboard, ควบคุมการทำงานของ Serial Port, Parallel Port, Video Card, Sound Card, HDD Controller และอื่น ๆ ในบางครั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ เมื่อมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามาหาก BIOS ไม่สามารถรู้จักและใช้งานได้ จำเป็นต้องมีการแก้ไขโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่บรรจุใน BIOS ให้รู้จักกับอุปกรณ์ใหม่ ๆ นั้นด้วยที่เรียกกันว่า Flash BIOS นั่นเอง

            สำหรับปัจจุบันนี้ BIOS จะเก็บไว้ใน EPROM ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่ปกติจะใช้สำหรับอ่านได้อย่างเดียว (ส่วนใหญ่จะเป็นไอซีตัวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ อยู่บนเมนบอร์ด) โดยที่เราสามารถทำการ ลบข้อมูลและโปรแกรมข้อมูล ลงไปใหม่ได้โดยใช้ซอฟท์แวร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการ Flash BIOS นั้น ๆ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของ BIOS EPROM และเมนบอร์ดด้วยนะครับว่าสามารถ Flash ได้หรือเปล่าโดยวิธีการง่าย ๆ คือตรวจสอบจากเวปไซต์ของผู้ผลิดเมนบอร์ดนั้น ๆ (โดยส่วนใหญ่แล้ว เมนบอร์ดสำหรับ Pentium ขึ้นไปส่วนใหญ่จะทำการ Flash ได้แล้ว)
โดยปกติแล้ว อุปกรณ์ต่าง ๆ จะมีการตั้งค่า Configuration ที่แตกต่างออกไปได้ ซึ่งค่าเหล่านี้จะถูก BIOS เก็บไว้ในส่วนของ CMOS RAM ประมาณ 64 Bytes ซึ่ง CMOS นี้จะต้องมีการจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาจาก แบตเตอรี่ เพื่อให้ค่าที่ตั้งไว้ไม่หาย ไปเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในส่วนของ CMOS นี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้พลังงานน้อยมาก ดังนั้นจึงสามารถใช้งาน ได้นานโดยไม่ต้องคอยเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อยๆ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้อง ทำการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ให้เหมาะสมเช่น ค่าความเร็วของการอ่านข้อมูลจาก Memory การตั้ง Enabled หรือ Disabled อุปกรณ์ต่าง ๆ, ความเร็วของ PCI BUS, ชนิดของ Floppy Disk หรือ Hard Disk ที่ใช้งาน, อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น SCSI และอื่น ๆ อีกมากมายที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS ที่มีใช้งานอยู่ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 บริษัทคือของ AMI BIOS (American Mega trends Inc) และ AWARD (ปัจจุบันรวมเข้ากับ Phoenix Technologies, Ltd. แล้ว) นอกจากนี้ก็จะมี BIOS ที่เป็นของแบนด์เนมต่าง ๆ เช่น COMPAQ หรือ IBM ซึ่งจะมีหน้าตาและวิธีการตั้งค่าแตกต่างออกไปด้วยสรุปว่า BIOS มีความสำคัญมากในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มี BIOS เราก็ไม่สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

รูปแบบการรายงานความผิดพลาด
         
              หากในขั้นตอน POST นั้นเกิดข้อผิดพลาดขึ้น BIOS จะรายงานความผิดพลาดนั้นให้ทราบทางจอภาพ หรือหากข้อผิดพลาด นั้นเกิดจากจอภาพหรือการ์ดแสดงผล BIOS จะรายงานความผิดพลาดนั้นโดยส่งเสียง beep สั้น-ยาวต่างกันออกไปตามลักษณะของปัญหานั้นๆ
ตารางแสดงถึงรายงานข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ในกรณีที่ภาคการแสดงผลยังใช้งานได้ (ใช้ได้กับ BIOS ของ AMI และ Award)


ข้อความ
ความหมาย
8024 Gate - A20 Error
คอนโทรลเลอร์ 8042 สำหรับคีบอร์ดเสีย
Cache Memory Bad, Do not Enable Cache!
หน่วยความจำแคชเสีย โดยสามารถเปิด การใช้งานได้จาก SETUP
CMOS BATTERY HAS FAILED
แบตเตอรี่ที่จ่ายไฟเลี้ยง CMOS หมด
CMOS Battery State Low
แบตเตอรี่ที่จ่ายไฟเลี้ยง CMOS หมด
CMOS CHECKSUM ERROR
ข้อมูลที่เก็บไว้ใน CMOS ไม่ถูกต้อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากแบตเตอรี่ที่ใกล้จะหมด ทำให้ไฟจ่ายได้ไม่ สม่ำเสมอ
CMOS Checksum Failure
ข้อมูลที่เก็บไว้ใน CMOS ไม่ถูกต้อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากแบตเตอรี่ที่ใกล้จะหมด ทำให้ไฟจ่ายได้ไม่ สม่ำเสมอ
CMOS System Options Not Set
ข้อมูลที่เก็บไว้ใน CMOS ไม่ถูกต้อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ แล้วเกิดจากแบตเตอรี่ที่ใกล้จะหมด ทำให้ไฟจ่ายได้ไม่ สม่ำเสมอ
CMOS Memory Size Mismatch
BIOS พบว่าขนาดหน่วยความจำเปลี่ยนแปลงไป นับจากการเปิดเครื่องครั้งล่าสุด
CMOS Time and Date Not Set
RTC (Real Time Clock) เสีย
DISK BOOT FAILURE, INSERT SYSTEM DISK AND PRESS ENTER
BIOS ไม่พบดิสก์ที่กำหนดให้ใช้สำหรับบูต (boot) หรือ ดิสก์นั้นไม่ได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการใดๆไว้
Diskette Boot Failure
BIOS ไม่พบดิสก์ที่กำหนดให้ใช้สำหรับบูต (boot) หรือ ดิสก์นั้นไม่ได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการใดๆไว้
DISKETTE DRIVES OR TYPES MISMATCH ERROR-RUN SETUP
กำหนดชนิดของดิสก์ไดรฟ์ไว้ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ติดตั้งไดรฟ์ชนิด 1.2 MB ไว้แต่กำหนดจาก SETUP ไว้เป็นชนิด 1.44MB เป็นต้น
DISPLAY SEUTCH IS STE INCORRECTLY
กำหนดฃนิดของการ์ดแสดงผลและจอภาพไว้ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ติดตั้งการ์ดแสดงผลชนิด VGA ไว้แต่กำหนดไว้ใน SETUP (หรืดโดย jumper บนเมนบอร์ด) เป็นชนิด monochrome เป็นต้น
Display Switch Not Proper
กำหนดฃนิดของการ์ดแสดงผลและจอภาพไว้ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ติดตั้งการ์ดแสดงผลชนิด VGA ไว้แต่กำหนดไว้ใน SETUP (หรืดโดย jumper บนเมนบอร์ด) เป็นชนิด monochrome เป็นต้น
DISPLAY TYPE HAS CHANGED SINCE LAST BOOT
BIOS พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงการ์ดแสดงผลนับจากการเปิดเครื่องครั้งล่าสุด




EISA Configuration Checksum Error PLEASE RUN EISA CONFIGURATION UTILITY
ค่าที่กำหนดไว้สำหรับอุปกรณ์ EISA ไม่ถูกต้อง หรือมีปัญหา
EISA Configuration is Not Complete PLASE RUN EISA CONFIGURATION UTILITY
ค่าที่กำหนดไว้สำหรับอุปกรณ์ EISA ไม่ถูกต้อง หรือมีปัญหา
ERROR ENCOUNTERED INTIALIZING HARD DRIVE
เริ่มการทำงานของฮาร์ดดิสก์ไม่ได้ อาจเกิดการตั้งค่าใน SETUP ไว้ไม่ถูกต้อง, สายเคเบิลหลุด-หลวม หรือฮาร์ดดิสก์นั้นเสียก็ได้
ERROR INTIALIZING HARD DTRIVE CONTROLLER
เริ่มการทำงานของคอนโทรลเลอร์สำหรับฮาร์ดดิสก์ไม่ได้ อาจเกิดจากการติดตั้งค่าใน SETUP ไว้ไม่ถูกต้อง, สายเคเบิลหลุดหลวม หรือคอนโทรลเลอร์นั้นเสียก็ได้
DMA Error000
คอนโทรลเลอร์ DMA (Direct Memory Access) เสีย
DMA #1 Error
เกิดข้อผิดพลาดขึ้นใน DMA channel 1
DMA #2 Error
เกิดข้อผิดพลาดขึ้นใน DMA channel 2
FDD Controller Failure
เริ่มการทำงานของคอนโทรลเลอร์สำหรับดิสก์ไดรฟ์ไม่ได้ อาจเกิดจากการติดตั้งค่าใน SETUP ไว้ไม่ถูกต้อง, สายเคเบิลหลุดหลวม หรือคอนโทรลเลอร์นั้นเสียก็ได้
FLOPPY DISK CNTRLR ERROR OR NO CNTRLR PRESENT
เริ่มการทำงานของคอนโทรลเลอร์สำหรับดิสก์ไดรฟ์ไม่ได้ อาจเกิดจากการติดตั้งค่าใน SETUP ไว้ไม่ถูกต้อง, สายเคเบิลหลุดหลวม หรือคอนโทรลเลอร์นั้นเสียก็ได้
HDD Controller Failure
เริ่มการทำงานของคอนโทรลเลอร์สำหรับดิสก์ไดรฟ์ไม่ได้ อาจเกิดจากการติดตั้งค่าใน SETUP ไว้ไม่ถูกต้อง, สายเคเบิลหลุดหลวม หรือคอนโทรลเลอร์นั้นเสียก็ได้
I/O Card Parity Error at xxx
Expansion card เสียหรือทำงานผิดพลาด ที่ตำแหน่ง xxx
Invalid EISA Configuration PLEASE RUN EISA CONFIGURATION UTILITY
ค่าที่กำหนดไว้สำหรับอุปกรณ์ EISA ไม่ถูกต้องหรือมีปัญหา
KB/Interface Error
หัวต่อคีบอร์ดเสีย หรือหลุดหลวม
Keyboard Error
ไม่ได้ติดตั้งคีบอร์ดไว้ หรือคีบอร์ดเสีย
KEYBOARD ERROR OR NO KEYBOARD PRESENT
ไม่ได้ติดตั้งคีบอร์ดไว้ หรือคีบอร์ดเสีย
Memory Address Error at xxx
พบหน่วยความจำเสียที่ตำแหน่ง xxx
Memory Parity Error at xxx
พบหน่วยความจำเสียที่ตำแหน่ง xxx
MEMORY SIZE HAD CHANGED SINCE LAST BOOT
BIOS พบว่าขนาดหน่วยความจำเปลี่ยนแปลงไปนับจากการเปิดเครื่องครั้งล่าสุด (เกิดขึ้นเฉพาะในระบบที่ใช้อุปกรณ์แบบ EISA เท่านั้น)
Memory Verity Error at xxx
พบหน่วยความจำเสียที่ตำแหน่ง xxx
Parity Error xxx
พบหน่วยความจำเสียที่ตำแหน่ง xxx
PRESS A KEY TO REBOOT
เกิดข้อผิดพลาดบางประการขึ้น ซึ่งระบบพยายามแก้ปัญหาด้วยการบูตเครื่องใหม่


PRESS F1 TO DISABLE NMI, F2 TO REBOOT
ตรวจพบ NMI (Non Maskable Interrupt) หากกดคีย์ F1 จะยกเลิก NMI แล้วทำงานต่อตามปกติ หากกดคีย์ F2 BIOS จะบูตเครื่องใหม่และใช้งาน NMI นั้น (หากทำได้)
RAM PARITY ERROR - CHECKING FOR SEGMENT XXX
พบหน่วยความจำเสียที่ตำแหน่ง xxx
Should be Empty But EISA Board found PLEASE RUN EISA CONFIGURATION UTILITY
เกิดขึ้นเมื่อเพิ่มอุปกรณ์ชนิด EISA ลงในระบบ
Should Have EISA Board But Not Found PLEASE RUN EISA CONFIGURATION UTILITY
เกิดขึ้นเมื่อถอดอุปกรณ์ชนิด EISA ออกจากระบบ
Slot Not Empty
เกิดขึ้นเมื่อเพิ่มอุปกรณ์ชนิด EISA ลงในระบบ
SYSTEM HALTED, (CTRL-ALT-DEL) TO REBOOT
เกิดข้อผิดพลาดบางประการขึ้น ซึ่งระบบพยายามแก้ปัญหาด้วยการบูตเครื่องใหม่
Wrong Board In Slot
เกิดขึ้นเมื้อเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ชนิด EISA หรือเปลี่ยนช่องเสียบ

สัญญาณเสียงแสดงความผิดพลาด
ตาราง รหัสเสียง beep ของ AMI BIOS


เสียง beep (ครั้ง)
ความหมาย
1
สิ้นสุดกระบวนการ POST
2
เกิดข้อผิดพลาดใดๆขึ้นระหว่างขั้นตอน POST
3
BIOS ของการ์ดแสดงผลไม่ทำงาน หรือการ์ดแสดงผลเสีย
4
DAC (Digital to Analog Converter) ไม่ทำงาน, หน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลเสีย หรือไม่ได้ต่อจอภาพไว้
5
เริ่มต้นการทำงานภาคการแสดงผลส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดไม่ได้

สัญญาณเสียงแสดงความผิดพลาดขึ้นกับ Main Board แต่ละรุ่น แต่สำหรับรหัสเสียงสัญญาณแสดงความผิดพลาดพื้นฐาน ได้แก่

จำนวนเสียงสัญญาณ
ตัวต้นเหตุของปัญหา
1 เสียงสั้น
Successful POST
2 เสียงสั้น
Initialization error, DMA, Floppy Disk Drive, Serial, Partial
1 เสียงยาว, 1 เสียงสั้น
Main Board
1 เสียงยาว, 2 เสียงสั้น
VGA or Video Memory
1 เสียงยาว, 3 เสียงสั้น
VGA card
ไม่มีเสียง
Power Supply, Main Board




อ้างอิงจาก     http://202.143.168.214/uttvc/HardwareUtility/page4.html

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เมนูต่าง ๆ ใน BIOS

 BIOS Main Menu Selections




 BIOS Advanced Menu Main



BIOS Advanced Menu CPU Configuration


BIOS Advanced Menu On-board SATA Configuration



 BIOS Advanced Menu ACPI Configuration


Figure showing the BIOS Advanced Menu ACPI Configuration Screen.
Advanced ACPI Configuration Sub Menu

Advanced ACPI Sub Menu

 BIOS Advanced Menu Event Logging Details



 BIOS Advanced Menu IPMI Configuration


Figure showing Advanced IPMI Configuration
View BMC Event Log Sub Menu

Figure showing BMC event log

 BIOS Advanced Intel VT-d Configuration


Figure showing BIOS Advanced Intel-VT-d

 BIOS Advanced Menu LAN Configuration



 BIOS Advanced Menu MPS Configuration



 BIOS Advanced Menu Remote Access Configuration



 BIOS Advanced Menu Trusted Computing



 BIOS Advanced Menu USB Configuration




 BIOS PCI Menu Selections


.


BIOS Boot Menu Main



 BIOS Boot Menu Boot Settings Configuration


Figure showing the BIOS Boot Menu Boot Settings Configuration Screen.

 BIOS Boot Menu Boot Device Priority



 BIOS Boot Menu Option ROM



 BIOS Boot Menu Wake On LAN




 BIOS Security Menu




 BIOS Chipset Main Menu





 BIOS Chipset Menu CPU Bridge Configuration


Figure showing BIOS Chipset Menu CPU Bridge Configuration

 BIOS Chipset Menu NorthBridge Configuration



 BIOS Chipset Menu SouthBridge Configuration




 BIOS Exit Menu


Figure showing Exit Menu



อ้างอิง   http://docs.oracle.com/cd/E19658-01/820-6178-13/app_bios_menus.html#50573352_34176









วิธีการเข้า Bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่น


วิธีการเข้า Bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่น

- ALR Advanced Logic Research, Inc. ® PC / PCI ให้กด F2
- ALR PC non / PCI ให้กด CTRL+ALT+ESC
- AMD® (Advanced Micro Devices, Inc.) BIOS ให้กด F1
- AMI(American Megatrends, Inc.) BIOS ให้กด DEL
- Award™ BIOS ให้กด CTRL+ALT+ESC
- Award BIOS ให้กด DEL
- DTK® (Datatech Enterprises Co.) BIOS ให้กด ESC
- Phoenix™ BIOS ให้กด CTRL+ALT+ESC
- Phoenix BIOS ให้กด CTRL+ALT+S
- Phoenix BIOS ให้กด CTRL+ALT+INS
- Acer® ให้กด F1, F2, CTRL+ALT+ESC
- AST® ให้กด CTRL+ALT+ESC, CTRL+ALT+DEL
- Compaq® 8700 ให้กด F10
- CompUSA® ให้กด DEL
- Dell® 400 ให้กด F3
- Dell 400 ให้กด F1
- Dell Dimension® ให้กด F2 or DEL
- Dell Inspiron® ให้กด F2
- Dell Latitude ให้กด Fn+F1 (while booted)
- Dell Latitude ให้กด F2 (on boot)
- Dell Optiplex ให้กด DEL
- Dell Optiplex ให้กด F2
- Dell Precision™ ให้กด F2
- eMachine™ ให้กด DEL
- Gateway® 2000 1440 ให้กด F1
- Gateway 2000 Solo™ ให้กด F2
- HP® (Hewlett-Packard) ให้กด F1, F2
- IBM® ให้กด F1
- IBM E-pro Laptop ให้กด F2
- IBM PS/2® ให้กด CTRL+ALT+INS after CTRL+ALT+DEL
- IBM Thinkpad® (newer) ให้ไปที่ Windows: Programs-Thinkpad CFG.
- Intel® Tangent ให้กด DEL
- Micron™ ให้กด F1, F2, or DEL
- Packard Bell® ให้กด F1, F2, Del
- Sony® VIAO ให้กด F2
- Sony VIAO ให้กด F3
- Toshiba® 335 CDS ให้กด ESC
- Toshiba Tecra ให้กด F1 or ESC
- Toshiba Satellite 205 CDS ให้กด F1
- Toshiba Protege ให้กด ESC
- Tiger ให้กด DEL

ข้อแนะนำจากประสบการณ์เจ้าหน้าที่ Goosiam.com

บางครั้ง CPU ตามสูตร ก็เข้าไม่ได้เสมอไป
เช่น ตัวอย่าง ผมใช้ AMD  กด F1 ไม่เข้า
ต้องลองกดหลายแบบ จนกดปุ่ม CTRL+ALT+ESC ถึงจะเข้าได้

จึงเป็นข้อแนะนำว่า หากเข้าตามสูตรที่บอกมาไม่ได้ เราก็ไล่ กดที่ละสูตรเลยครับ แน่นอนกว่า อย่างน้อยก็มีสักกดละน่าที่เข้าได้

เทคนิคจากประสบการณ์
1. บางครั้ง เราต้องถอดถ่านBios ออกหากถ่านถูก ล็อกไว้
2. ไวรัสบางตัวอาศัยถ่าน Bios ทำงาน ต้องถอดถ่านออกจึงจะลบคำสั่งมันได้
3. พวกแฮกเกอร์หัวใสสั่งโปรแกรมเจาะระบบทำงานภายใต้ถ่าน Bios โปรแกรมสแกนจึงลบโปรแกรมเจาะระบบไม่ได้สักที จึงต้องแกะถ่านออกจึงถึงบางออว่ามันเป็นอย่างนี้เอง
สรุปสั้นๆ หากมีอะไรผิดปกติกับเครื่อง จะล้างเครื่องให้ชัวร์ก็ลองถอดถ่านออก พอถ่านสุกแล้วก็เอาใส่ใหม่  สุกหมายถึงเย็นแล้ว5นาทีค่อยเอาไปใส่

ข้อสงสัยแต่อาจมีจริง  ใครจะรู้บ้างว่าเทคโนโลยีดาวเทียมเจาะระบบคอมพิวเตอร์ระดับโจรกรรมระดับโลก ขณะที่เครื่องคอมดับ แต่จะอาศัยถ่าน Bios เป็นตัวนำข้อมูลที่ต้องการออกจากคอมพิวเตอร์ได้  ผมเคยคิดถึงขั้นนี้ และเอาตัวถ่านออกจากคอมไม่ใช้เลยระยะหนึ่ง เพราะช่วงนั้นแฮกเกอร์กวนเหลือเกิน ใครจะเรียกแฮกเกอร์ แครกเกอร์ อะไรก็ตามแต่ว่าฝ่ายใดดีไม่ดี แต่ผมเรียกแฮกเกอร์อย่างเดียวก็พอ  ใครหน้าจอสีฟ้า น้ำเงิน จงรับรู้ด้วยว่าแฮกเกอร์อาจจะฝังอะไรในเครื่องคุณแล้ว เช่นโทจัน ม้าฮี่ฮี่ฮี่

29 เมษายน 52
บทความปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้น  Update  โดยผู้ไม่ได้จบวิชาคอม

การเข้า Bios   คือเครื่องรุ่นใหม่ๆ  เครื่องรุ่นปี 51 52 53 หรือรุ่นใหม่ๆต่อไป  การเข้า Bios ส่วนใหญ่ เดี๋ยวนี้เข้าง่ายขึ้น  โดยกดปุ่ม  Delete ตอนเปิดเครื่อง ก็เข้า Bios ได้แล้ว  โดยสังเกตจาก ตอนเปิดเครื่องครับ จะมีบอกไว้ว่าเข้า Bios จะต้องกดปุ่มอะไร   เนื่องจากผมทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซื้อคอมพิวเตอร์สะสมไว้ไม่น้อยกว่า 10 เครื่อง ผมสังเกตว่ารุ่นใหม่ๆตั้งแต่รุ่นปี 51 เป็นต้นมา คอมส่วนใหญ่เวลาเข้า Bios ก็ให้กด ปุ่ม Delete ตอนเข้าเครื่องนะครับ

ถ้าอนาคตมีการเข้า Bios แบบอื่นๆอีก ผมผู้ไม่ได้เรียนสายคอมพิวเตอร์มา ก็จะมา Update ข้อมูลต่อด้านล่างต่อไป  ผมไม่ปล่อยให้ข้อมูลเก่าเก็บหรอกครับวางใจได้